J400 โปรโมชั่นชุด Triple Green Tea เดฟินิ กรีนที (3)
รหัสสินค้า : J400 โปรโมชั่นชุด Triple Green Tea เดฟินิ กรีนที (3)
ราคา |
1,100.00 บาท |
จำนวนที่จะซื้อ | |
ราคารวม | 1,100.00 บาท |
สินค้าไม่เพียงพอ
สินค้าหมด
ส่วนประกอบสำคัญ : ใน 1 ซอง ประกอบด้วย
สารสกัดจากชาเขียว 3.81 ก.
ชาเขียวมัทฉะ 3.15 ก.
คาโมมายล์ผง 0.01 ก.
ซูคราโลส 0.03 ก.
วิธีการรับประทาน :
ละลายผลิตภัณฑ์ 1 ซอง ( 7 กรัม) ชงกับน้ำร้อน 250 มล.
คนให้เข้ากันพร้อมดื่มได้ทันที
ชาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมกันมานับเป็นศตวรรต โดยเริ่มจากประเทศอินเดีย และประเทศจีน ปัจจุบันนี้ ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ในทางการแพทย์แล้ว ชาเขียวเป็นชาที่เชื่อว่ามีคุณค่าสูงสุดทางการแพทย์ ชาเขียวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCamellia sinensis ชาถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามกระบวนการหมักคือ ชาเขียว ชาอู่หลง และ ชาดำ ชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักเลย ซึ่งทำให้มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระประเภทโพลีฟีนอล (Polyphenols) สูงสุดในบรรดาชาทั้ง 3 ชนิด
ศาสตร์การแพทย์แผนจีน และศาสตร์การแพทย์แผนอินเดีย ใช้ชาเขียวในการกระตุ้นการขับปัสสาวะ และใช้ฤทธิ์ในการฝาดสมานช่วยรักษาอาการบาดเจ็บต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว และให้ผลดีต่อหัวใจ และหลอดเลือด ช่วยลดแก๊สในกระเพาะ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยย่อย และช่วยให้จิตใจสงบ และผ่อนคลาย
ชาเขียวมีงานวิจัยมากมาย ทั้งในมนุษย์ ในสัตว์ทดลอง และ ในหลอดทดลอง งานวิจัยด้านสุขภาพของชาเขียวมีดังนี้
การป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
งานวิจัยทางคลินิก พบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาเขียว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ รวมทั้งมีงานวิจัยติดตามกลุ่มประชากรที่ดื่มชาเขียวเป็นระยะเวลานาน ในหลากหลายพื้นที่ในโลก พบว่าในกลุ่มคนที่ดื่มชาเขียวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้ดื่ม มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดน้อยกว่า ระดับโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า มีการประมาณจากผลการวิจัยว่า การดื่มชาเชียวปริมาณ 3 ถ้วยต่อวัน ลดอัตราการเกิดหัวใจวายถึง 11%
การปรับสมดุลโคเลสเตอรอลในเลือด
งานวิจัยทั้งในสัตว์ทดลอง และในมนุษย์พบว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดโคเลสเตอรอลรวม และเพิ่ม HDL โคเลสเตอรอล หรือโคเลสเตอรอลตัวดี กลไกที่นักวิจัยคาดเดาจากผลวิจัยในสัตว์ทดลองคือ ชาเขียวอาจช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล ในลำไส้ และช่วยให้ร่างกายกำจัดโคเลสเตอรอลออก งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดระดับ LDL หรือโคเลสเตอรอลตัวร้าย ในกลุ่มผู้ชายที่สูบบุหรี่ได้
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
มีงานวิจัยหลายชิ้นในลักษณะวิจัยกลุ่มประชากร พบว่า ทั้งชาเขียว และชาดำ มีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยพบว่า กลุ่มประชากรที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำ มีอัตราการเกิดมะเร็งน้อยกว่ากลุ่มประชากรที่ไม่ได้ดื่ม นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สารกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในชาเขียว มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มีงานวิจัยพบว่า สตรีที่ดื่มชาดำ หรือชาเขียวที่มีโพลีฟีนอลสูงเป็นประจำมีอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะน้อยกว่ากลุ่มสตรีที่ไม่ได้ดื่ม นักวิจัยกลุ่มเดียวกันนี้ ได้ทำงานวิจัยเรื่องมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วยชาย พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำ มีอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี (5 year survival rate) สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ดื่มชาเขียว
ฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม
มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง และในหลอดทดลอง พบว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียว ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำในสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะต่างๆ จำนวน 472 คน พบว่าสตรีที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำลดการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมได้ ปริมาณที่ใช้ดื่มคือ ประมาณ 5 แก้วต่อวัน รวมทั้งลดอัตราการกลับซ้ำของมะเร็งในผู้ที่รักษาหายแล้ว แต่หากเป็นมะเร็งระยะท้ายๆ พบว่าไม่มีความแตกต่าง จึงน่าจะใช้ในเชิงป้องกันมะเร็ง และใช้ในการรักษาร่วมในมะเร็งเต้านมระยะต้นมากกว่า
เมื่อมีการทำวิจัยให้เฉพาะเจาะจงขึ้นไปอีกพบว่า ในสตรีอายุต่ำกว่า 50 ปี ที่มีการดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละ 3 แก้วทุกวัน มีอัตราการเกิดมะเร็งน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มถึง 37%
ฤทธิ์ต้านมะเร็งรังไข่
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศจีน ทดลองในสตรีที่เป็นมะเร็งรังไข่ พบว่า ผู้ป่วยสตรีที่ดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว มีอายุยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ดื่ม และยิ่งเพิ่มปริมาณการดื่ม ยิ่งมีร่างกายที่แข็งแรง และอายุที่ยืนยาวขึ้น
ฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่
งานวิจัยชาเขียวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้ผลไม่ชัดเจน ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าสตรีที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยกว่าสตรีที่ไม่ได้ดื่ม แต่ผลวิจัยนี้ไม่มีความแตกต่างระหว่างการดื่ม และไม่ดื่มในเพศชาย
ฤทธิ์ต้านมะเร็งหลอดอาหาร
งานวิจัยในหลอดทดลองพบว่า สารโพลีฟีนอลในชาเขียวยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหลอดอาหาร แต่การศึกษาในมนุษย์ผลการทดลองยังไม่ชัดเจน นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ดื่มชาที่ไม่ร้อนจนเกินไป จนเป็นอันตรายต่อ เยื่อบุช่องปาก และลำคอ
ฤทธิ์ต้านมะเร็งตับอ่อน
งานวิจัยในกลุ่มประชากรพบว่า กลุ่มประชากรที่ดื่มชาเขียว มีโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่ม สตรีที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำมีโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มถึง 50% ส่วนบุรุษที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำ มีโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มประมาณ 37%
ฤทธิ์ต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก
สารสกัดจากชาเขียวให้ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในหลอดทดลอง มีการทดลองในมนุษย์ในจีนตอนใต้พบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม แต่ขึ้นกับปริมาณที่ดื่ม และความเข้มข้นของสารสำคัญที่มีอยู่ในชาด้วย
ฤทธิ์ต้านมะเร็งผิวหนัง
สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางการแพทย์ในชาเขียวคือ อีจีซีจี (EGCG : Epigallacatechin Gallate) นักวิทยาศาสตร์พบว่า EGCG ในชาเขียวมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งผิวหนังได้
ฤทธิ์ต้านมะเร็งกระเพาะอาหาร
งานวิจัยพบว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียวยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในหลอดทดลอง แต่ในมนุษย์ผลการทดลองยังไม่ชัดเจน
โรคลำไส้แปรปรวน (Inflammatory Bowel Syndrome)
การดื่มชาเขียวจะช่วยลดการอักเสบในโรคโครน (Crohn’s Disease) หรือโรคทางเดินอาหารแปรปรวน และการ มีแผลในลำไส้ และลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคเบาหวาน
ชาเขียวมีที่ใช้ในการทางการแพทย์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในการดื่มเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด มีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ชาเขียวอาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานในเด็กซึ่งเกิดจากพันธุกรรม และตับอ่อนทำงานน้อยมาก หรือไม่ทำงาน) และถึงแม้ว่าจะเป็นแล้ว ก็ช่วยชะลออาการไม่ให้เป็นมากขึ้น มีงานวิจัยบางงานวิจัย ให้ผลออกมาว่า การดื่มชาเขียวเป็นประจำช่วยลดระดับการเกิดน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1C) ในร่างกายได้ ในคนที่เป็นเบาหวานระยะต้น หรือกำลังจะเป็นเบาหวาน
โรคตับ
มีงานวิจัยในกลุ่มประชากรชายที่ดื่มชาเขียวมากกว่าวันละ 10 แก้วต่อวัน ว่าช่วยลดอัตราการเกิดโรคต่างๆของตับ ชาเขียวยังมีกลไกปกป้องตับจากสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ และยังมีงานวิจัยว่ายับยั้งการเกิดเนื้องอกในตับของหนูทดลอง ช่วยรักษาตับที่ถูกทำลายจากเชื้อไวรัส แต่ชาเขียวปริมาณสูงถึง 10 แก้วต่อวัน อาจทำให้เราได้คาเฟอีนมากเกินไป เพราะนอกจาก EGCG แล้ว ในชาเขียวก็ยังมีคาเฟอีนด้วย โดยชาเขียว 1 ถ้วย มีปริมาณคาเฟอีนประมาณ 25-40 มิลลิกรัม ในขณะที่กาแฟ 1 ถ้วย มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-100 มิลลิกรัม
ชาเขียวกับการลดน้ำหนัก
งานวิจัยจำนวนมากให้ผลตรงกันว่า สารสกัดจากชาเขียวช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และช่วยในการเผาผลาญไขมัน งานวิจัยชิ้นหนึ่งให้ผลออกมาว่า การดื่มชาเขียว และกาแฟ ให้ผลลดน้ำหนัก และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เป็นผลมาจากสารสำคัญชื่อ Catechin ในชาเขียว
ชาเขียวยังมีการนำมาวิจัยในประโยชน์ด้านสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การป้องกันฟันผุ การลดการอักเสบรวมทั้งข้ออักเสบ รวมทั้งช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกอ่อนด้วย ป้องกันหวัด และไข้หวัดใหญ่ และการเกิดหูดตามร่างกายอีกด้วย ชาเขียวจึงเป็นเครื่องดื่มที่น่าสนใจในการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพของชาเขียว ปริมาณสารสำคัญ และปริมาณที่ดื่ม ในแต่ละวัน